แชร์

เปลี่ยนเอเลี่ยนสปีชีส์ "ปลาหมอคางดำ" ให้เป็นปลาร้า

อัพเดทล่าสุด: 13 มี.ค. 2025
124 ผู้เข้าชม

     ปัจจุบันไทยผลิตปลาร้าสูงถึง 40,000 ตันต่อปี ตลาดกลุ่มอาเซียนและสหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา สร้างมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทต่อปี จากกรณีปัญหาปลาหมอสีคางดำระบาดสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรทุกภาคส่วนในประเทศไทย ในพื้นที่ชายฝั่งและลำน้ำธรรมชาติมากกว่า 13 จังหวัดทั่วประเทศ ทางกรมประมงจึงออกมาตรการรับมือสายพันธุ์รุกรานที่มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกานี้ เพื่อบรรเทาปัญหาให้กับชาวประมงและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมี 5 แนวทางดังนี้

1. ควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการระบาด

2. ปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากะพงขาว และปลาอีกง เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ

3. นำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปลาป่น ปลาร้า แปรรูปเป็นหลายเมนู

4. สำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามพื้นที่กันชนต่าง ๆ

5. ประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำให้กับทุกภาคส่วน


ล่าสุดชาวบ้านได้มีการทดลองนำปลาหมอคางดำมาทำปลาร้า พบว่าปลาร้าที่ทำจากหมอคางดำมีรสชาติอร่อยเหมือนกับปลาทั่ว โดยหวังว่าการแปรรูปเป็นอาหารจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดปริมาณปลาหมอคางดำได้ และจะสามารถขจัดปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเอเลียนสปีชีส์ให้หมดไปจากน่านน้ำไทย วันนี้เราจึงมาแจกสูตรวิธีทำปลาร้าที่นอกจากจะเป็นการลดจำนวนประชากรไปแล้วยังได้ปลาร้าแซ่บๆ เก็บไว้ทานได้อีกด้วย

 

 



วิธีทำปลาร้า




1. นำปลามาตัดหัว ตัดครีบ ขูดเกล็ด เอาเครื่องในออก แล้วล้างน้ำสะอาดให้เรียบร้อย


2. เตรียมครกกับสาก นำเกลือสินเธาว์ ที่มีลักษณะเป็นดอกเกลือ มาตำให้พอแหลก ไม่ต้องตำจนละเอียด


3. นำข้าวเปลือกมาคั่วในกระทะ เสร็จแล้วปั่นให้ละเอียด


4. นำเนื้อปลามาคลุกเคล้ากับเกลือและข้าวคั่ว จนเข้าเนื้อ จากนั้น หมักใส่ไว้ในไห หรือ ขวดโหลพลาสติก ปิดปากให้แน่น หมักทิ้งไว้ 2 อาทิตย์


5. พอครบเวลา ให้นำเนื้อปลาออกมาใหม่ เทน้ำจากเนื้อปลาออกให้หมด แล้วคลุกเคล้ากับเกลือและข้าวคั่วใหม่อีกรอบ จากนั้น หมักใส่ไว้ในไห หรือ ขวดโหลพลาสติก ปิดปากให้แน่น หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 เดือน




เมื่อครบเวลา ปลาร้าที่ดี เนื้อ และลำตัวของปลาจะอ่อนนุ่ม ไม่แข็ง หรือ เปื่อยยุ่ยจนเกินไป เนื้อปลาด้านในเป็นสีชมพูแดง หรือน้ำตาล มีกลิ่นหอมที่เกิดจากการหมัก แต่ไม่ใช่กลิ่นเหม็นเน่า เนื้อปลามีรสเค็ม ไม่ติดเปรี้ยว น้ำปลาร้า เป็นสีน้ำตาลอมดำ รสเค็มไม่ติดเปรี้ยว และสีของข้าวคั่ว หรือ ดำ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม่เป็นสีดำคล้ำ นอกจากนี้ ต้องสังเกตให้ดีว่า ไม่มีไข่ของแมลงวัน หรือ พยาธิ และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ อยู่ในปลาร้า






บทความที่เกี่ยวข้อง
"รถยนต์ไฮโดรเจน" VS "รถยนต์ไฟฟ้า" รถพลังงานไม่ได้มีแค่รถไฟฟ้านะ
“รถยนต์” ยานพาหนะที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ในปัจจุบันกระแสการใช้พลังงานสะอาดและยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความนิยมอยากมาก จนได้มีการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV ออกมามากมายหลายรุ่นด้วยกันซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในท้องถนนที่เราคุ้นเคยกันดี ยังมีรถยนต์อีกประเภท นั่นก็คือ รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน นวัตกรรมใหม่ที่น่าจับตามอง ที่อาจจะกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดรถยนต์ในอนาคต
ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์
“ทำไมต้องทำประกันรถยนต์” หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่หลายคนคงสงสัย บางคนอาจจะเห็นว่าไม่เห็นจำเป็นเลย ทำไมต้องมาจ่ายเบี้ยประกันภัยทุกปี ทั้งที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย เสียดายเงินเปล่าๆ สาเหตุเป็นเพราะหากเมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ประกันรถยนต์จะช่วยแบกรับความเสี่ยงในการเสียค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้ทำประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ รถหาย รถพัง และทำให้ผู้เสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์ได้รับการชดเชยอย่างทันท่วงที เพื่อที่จะได้นำเงินส่วนนั้นไปจ่ายค่ารักษาพยาบาล จ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย โดยทางบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าความเสียหายให้ตามจำนวนทุนประกันที่ซื้อไว้ วันนี้เราจะพาไปดู 3 เหตุผลว่าทำไมคุณต้องทำประกันรถยนต์
อายุรถของคุณควรทำประกันภัยรถยนต์ชั้นใด
ในปัจจุบันนี้ ประกันรถยนต์มีหลากหลายประเภทด้วยกัน เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกประกันชั้นที่คิดว่าเหมาะสมและตอบโจทย์กับการใช้งานรถของตนเองให้ได้มากที่สุด ซึ่งหลายคนอาจต้องเคยถูกการแนะนำประกันภัยรถยนต์มาหลากหลายประเภท แต่ประกันชั้นไหนกันถึงจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุด ในวันนี้เราจะพาไขข้อสงสัยกันว่า เพราะเหตุใด อายุรถของคุณ ควรทำประกันชั้นใด
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy